วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

Excel

ส่วนประกอบของ Microsoft Excel
 1. แถบ ชื่อ (Title Bar) คือส่วนที่แสดงชื่อ ของโปรแกรมนั้น ซึ่งคือ Microsoft Excel แสดง ชื่อของแฟ้มหรือสมุดงานแทน
2.  แถบคำสั่ง (Menu Bar) คือแถวที่รวมคำสั่งที่ใช้ในการทำงานได้แก่  แฟ้ม(File)  แก้ไข(Edit)  มุมมอง(View)  แทรก(Insert)  รูปแบบ(Format)  เครื่องมือ(Tool)  ข้อมูล(Data)  หน้าต่าง(Window)   ตัวช่วย(Help)
3.  แถบเครื่องมือ(Tool Bar) เป็นแถบที่ใช้แสดงเครื่องมือสำหับสั่งให้ Microsoft Excel ทำงาน ในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่
 3.1  แถบเครื่องมือมาตรฐาน(Standard Tool Bar)


3.2  แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (Formating Tool Bar)


3.3  แถบเครื่องมือรูปวาด (Drawing Tppl Bar)


4.  แถบสูตร (Formular Bar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงข้อมูลและสูตรต่าง ๆ ในเซลล์ที่เรากำลังทำงานอยู่ ใช้ป้อนข้อมูลและแก้ไขข้อมูล

5.  แถบชีตงาน (Sheet Bar)  แสดงชื่อชีทงานที่ใช้งานอยู่

6.  แถบสถานะ (Status Bar)  เป็นส่วนที่แสดงสถานะการทำงานของ Excel และแป้นพิมพ์

7.
 แถบ เลื่อน (Scroll Bar) ใช้เลื่อนเอกสารไปซ้าย - ขวา หรือ เลื่อนขึ้น - ลง
8. ตัวชี้เซลล์ (Active Cell) คือเซลลืที่กำลังถูกใช้งานในขณะนั้น  เซลล์ที่เป็นแอกทีพเซลล์จะมีเส้นกรอบแบบสีดำล้อมรอบอยู่

9.  สมุดงาน (Work Book)คือ ไฟล์ที่สร้างจากExcel ซึ่งประกอบ Work sheet หลายแผ่นมารวมกัน
10.  แผ่นงาน(Work Sheet) หมายถึงพื้นที่ส่วนที่ใช้เป็ฯกระดาษคำนวณมีลักษณะเป็นตาราง เราสามารถป้อนข้อมูลและสูตรคำนวณต่าง ๆ ลงไปในเซลล์ นอกจากข้อมูลในเซล์แล้วยังสามารถวางวัตถุ เช่น รูปภาพหรือชาร์ท(Chart) ลงบนแผ่นงานได้อีกด้วย

Access

ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access

ส่วนต่างๆ ต่อไปนี้เป็นการอธิบายส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access โดยทั่วไปแบบย่อ เมื่อต้องการศึกษาเพิ่มเติมในแต่ละส่วน ให้ติดตามการเชื่อมโยงในส่วน ดูเพิ่มเติม ของบทความนี้


ตาราง

ตารางฐานข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายกับกระดาษคำนวณ นั่นคือข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในแถวและคอลัมน์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องค่อนข้างง่ายในการนำเข้าข้อมูลจากกระดาษคำนวณไปยังตารางฐาน ข้อมูล โดยข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเก็บข้อมูลของคุณในกระดาษคำนวณและการเก็บใน ฐานข้อมูลจะอยู่ที่วิธีการจัดระเบียบข้อมูล
เมื่อต้องการความยืดหยุ่นสำหรับฐานข้อมูลให้มากที่สุด ข้อมูลต้องมีการจัดระเบียบลงในตารางเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน ควรป้อนข้อมูลของพนักงานแต่ละคนเข้าไปในตารางที่ใช้เก็บข้อมูลพนักงานเพียง ครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จะเก็บในตารางของผลิตภัณฑ์ และข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ของสาขาจะเก็บในตารางอื่น กระบวนการนี้เรียกว่า การ ทำ Normalization
แต่ละแถวในตารางจะถูกอ้างอิงเป็นหนึ่งระเบียน ระเบียนคือที่ที่ใช้เก็บข้อมูลแต่ละส่วน แต่ละระเบียนจะประกอบด้วยเขตข้อมูลอย่างน้อยหนึ่งเขตข้อมูล เขตข้อมูลจะสอดคล้องกับคอลัมน์ในตาราง ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีตารางหนึ่งที่ชื่อ "พนักงาน" ซึ่งแต่ละระเบียน (แถว) จะมีข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับพนักงานหนึ่งคน และแต่ละเขตข้อมูล (คอลัมน์) จะมีชนิดข้อมูลที่ต่างกัน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และอื่นๆ เขตข้อมูลนั้นต้องได้รับการออกแบบให้มีชนิดข้อมูลที่แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นข้อความ วันที่หรือเวลา ตัวเลข หรือชนิดข้อมูลอื่นๆ
อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายให้เห็นภาพของระเบียนและเขตข้อมูลก็คือให้นึกถึง ชุดบัตรข้อมูลรุ่นเก่าของห้องสมุด โดยบัตรข้อมูลแต่ละใบที่อยู่ในตู้บัตรรายการจะเทียบเท่ากับระเบียนใน ฐานข้อมูล ส่วนข้อมูลแต่ละส่วนบนบัตรแต่ละใบ (ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และอื่นๆ) จะเทียบเท่ากับเขตข้อมูลในฐานข้อมูล

ฟอร์ม

ในบางครั้งฟอร์มจะถูกอ้างอิงเป็น "หน้าจอสำหรับป้อนข้อมูล" ซึ่งเป็นส่วนติดต่อที่คุณใช้ทำงานกับข้อมูลของคุณ และฟอร์มมักมีปุ่มคำสั่งที่ใช้ดำเนินการคำสั่งได้หลากหลาย คุณสามารถสร้างฐานข้อมูลโดยไม่ต้องใช้ฟอร์มด้วยการแก้ไขข้อมูลของคุณอย่าง ง่ายๆ ในแผ่นข้อมูลตาราง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ฐานข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการที่จะใช้ฟอร์มเพื่อดู ป้อนข้อมูล และแก้ไขข้อมูลในตารางมากกว่า
ฟอร์มจะให้รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้สำหรับทำงานกับข้อมูล และคุณสามารถเพิ่มองค์ประกอบการใช้งาน เช่น ปุ่มคำสั่ง ลงในฟอร์มได้ด้วย คุณอาจเขียนโปรแกรมให้กับปุ่มต่างๆ เพื่อใช้กำหนดว่าจะให้ข้อมูลใดบ้างปรากฏบนฟอร์ม เปิดฟอร์มหรือรายงานอื่นๆ หรือดำเนินงานอื่นหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีฟอร์มชื่อ "ฟอร์มลูกค้า" ที่คุณใช้ทำงานกับข้อมูลลูกค้า ฟอร์มลูกค้าอาจมีปุ่มที่ใช้เปิดฟอร์มใบสั่งซื้อที่คุณสามารถป้อนรายการสั่ง ซื้อใหม่สำหรับลูกค้ารายนั้นได้
นอกจากนี้ ฟอร์มยังอนุญาตให้คุณสามารถควบคุมวิธีที่ผู้ใช้รายอื่นจะโต้ตอบกับข้อมูลใน ฐานข้อมูลด้วย ตัวอย่างเช่น คุณสามารถสร้างฟอร์มที่แสดงเฉพาะบางเขตข้อมูลและอนุญาตให้มีการดำเนินการได้ เพียงบางอย่างเท่านั้น สิ่งนี้จะช่วยป้องกันข้อมูลและทำให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลจะถูกป้อนอย่างถูกต้อง

รายงาน

รายงานเป็นสิ่งที่คุณใช้เพื่อสรุปและนำเสนอข้อมูลในตาราง บ่อยครั้งที่รายงานจะตอบคำถามตามที่ระบุไว้ เช่น "เรารับเงินจากลูกค้าแต่ละรายเป็นจำนวนเท่าไรในปีนี้" หรือ "ลูกค้าของเราอยู่ที่เมืองใดบ้าง" แต่ละรายงานสามารถกำหนดรูปแบบให้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่อ่านง่ายที่สุดได้
รายงานสามารถถูกเรียกใช้เวลาใดก็ได้ และจะแสดงข้อมูลปัจจุบันในฐานข้อมูลเสมอ โดยทั่วไปรายงานจะถูกจัดรูปแบบให้สามารถพิมพ์ออกมาได้ แต่คุณก็ยังสามารถดูรายงานบนหน้าจอ ส่งออกไปยังโปรแกรมอื่น หรือส่งเป็นข้อความอีเมลได้เช่นกัน

แบบสอบถาม

แบบสอบถามเป็นส่วนสำคัญในฐานข้อมูลและสามารถดำเนินการฟังก์ชันที่ต่างกัน ได้จำนวนมาก ฟังก์ชันทั่วไปส่วนใหญ่ของแบบสอบถามคือการดึงข้อมูลที่ระบุจากตารางต่างๆ ออกมา โดยข้อมูลที่คุณต้องการดูอาจจะกระจายอยู่ในหลายๆ ตารางก็ได้ และแบบสอบถามจะทำให้คุณสามารถดูข้อมูลที่ต้องการได้ในรูปของแผ่นข้อมูลเดียว นอกจากนี้ ถ้าคุณไม่ต้องการดูระเบียนทั้งหมดพร้อมกัน แบบสอบถามจะให้คุณเพิ่มเงื่อนไขเพื่อ "กรอง" ข้อมูลเอาเฉพาะระเบียนที่คุณต้องการออกมา บ่อยครั้งที่แบบสอบถามทำหน้าที่เป็นแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มและรายงานต่างๆ
แบบสอบถามบางชุด "สามารถปรับปรุงได้" นั่นหมายความว่า คุณสามารถแก้ไขข้อมูลในตารางต้นแบบผ่านแผ่นข้อมูลแบบสอบถามได้ ถ้าคุณทำงานในแบบสอบถามที่สามารถปรับปรุงได้ โปรดจำไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงของคุณจะมีผลกับตารางต่างๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะในแผ่นข้อมูลแบบสอบถามเท่านั้น
แบบสอบถามมีรูปแบบพื้นฐานสองรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูลและแบบสอบถามแอคชัน แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูลจะเรียกใช้ข้อมูลและทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งานได้ อย่างง่ายดาย คุณสามารถดูผลลัพธ์ของแบบสอบถามบนหน้าจอ พิมพ์แบบสอบถาม หรือคัดลอกไปยังคลิปบอร์ด หรือคุณสามารถใช้ผลลัพธ์ของแบบสอบถามเป็นแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มหรือรายงาน ได้
แบบสอบถามแอคชัน (เหมือนกับชื่อ) จะดำเนินงานกับข้อมูล โดยแบบสอบถามแอคชันสามารถใช้สร้างตารางใหม่ เพิ่มข้อมูลลงในตารางที่มีอยู่ ปรับปรุงข้อมูล หรือลบข้อมูลได้

แมโคร

แมโครใน Access นั้นจะเหมือนกับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่คุณสามารถใช้เพื่อ เพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูลของคุณ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถแนบแมโครลงในปุ่มคำสั่งบนฟอร์ม เพื่อให้แมโครนั้นทำงานเมื่อใดก็ตามที่มีการกดปุ่ม แมโครจะมีแอคชันที่ใช้ดำเนินงานหลายอย่าง เช่น การเปิดรายงาน การเรียกใช้แบบสอบถาม หรือการปิดฐานข้อมูล โดยการดำเนินการกับฐานข้อมูลส่วนใหญ่ที่คุณทำด้วยตนเองนั้นสามารถทำได้ อัตโนมัติโดยใช้แมโคร ดังนั้นแมโครจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาที่อย่างมาก

โมดูล

โมดูล (คล้ายแมโคร) เป็นวัตถุที่คุณสามารถใช้เพื่อเพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูลได้ ขณะที่คุณสร้างแมโครใน Access ด้วยการเลือกจากรายการแอคชันของแมโคร แต่คุณจะสามารถเขียนโมดูลได้ในภาษาการเขียนโปรแกรม Visual Basic for Applications (VBA) (Visual Basic สำหรับ Applications (VBA): รุ่นภาษาแมโครของ Microsoft Visual Basic ที่นำมาใช้เพื่อตั้งโปรแกรมให้กับโปรแกรมประยุกต์ของ Microsoft Windows และรวมอยู่ในโปรแกรมต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์) โมดูลเป็นคอลเลกชันของการประกาศ คำสั่ง และกระบวนงานที่ถูกเก็บไว้ด้วยกันเป็นหน่วยเดียว โมดูลสามารถเป็นได้ทั้งคลาสโมดูลหรือโมดูลมาตรฐาน คลาสโมดูลจะถูกแนบไว้ในฟอร์มหรือรายงาน และมักจะประกอบด้วยกระบวนงานที่เฉพาะเจาะจงไปยังฟอร์มหรือรายงานที่คลาสโมดู ลแนบอยู่ ส่วนโมดูลมาตรฐานจะประกอบด้วยกระบวนงานทั่วไปที่ไม่สัมพันธ์กับวัตถุอื่นใด โมดูลมาตรฐานจะถูกแสดงอยู่ภายใต้ โมดูล ในบานหน้าต่างนำทาง ขณะที่คลาสโมดูลจะไม่ถูกแสดงไว้

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

Access คืออะไร

access เป็นโปรแกรมที่ถูกใช้เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ในเรื่องการเขียนโปรแกรม และผู้ที่เคยพัฒนาระบบฐานข้อมูลมาก่อน โดยโปรแกรมนี้ จะช่วยให้การพัฒนาระบบ เป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะองค์ประกอบต่าง ๆ มีเพื่อให้ผู้พัฒนาสร้างระบบขึ้นมาได้ง่าย และรวดเร็ว 
ระบบ Access Control ถ้าแปลตรงตัวก็คือระบบควบคุมการเข้าถึง แต่ถ้าพูดภาษาที่เข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็คือระบบควบคุมการผ่านเข้าหรือออก ในที่นี้เราจะใช้กับการผ่านเข้าออกประตูหรือการผ่านเข้าออกพื้นที่ ระบบ Access Control ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็ได้แก่ระบบ Key Card ซึ่งคำนี้เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว ซึ่งระบบ Key Card สมัยก่อนๆ ใช้กุญแจที่ทำจากสแตนเลสต้องเสียบเข้าไปในช่องที่หน้าประตู พกใส่กระเป๋าสตางค์ไม่ได้

เนื้อหา bolg

Blog คืออะไร

มารู้จักความหมาย ของประโยคคำถาม ที่มักจะมีคนถามผมบ่อย ๆ เวลาไปบรรยายตามที่ต่าง ๆ ว่า “Blog คืออะไร” กันดีกว่าครับ
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง

นานาสาระ เรื่องที่สนใจ

สมุนไพร ไทย][1]

คนไทยเราเมื่อสมัยก่อนมีการเรียนรู้การใช้สมุนไพรรักษาโรคต่าง ๆ ในหมู่บ้านกันสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน เพราะในอดีต ประเทศไทยมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากและและสมุนไพรก็มีมากในอดีต จึงถือว่าเป้นภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษสั่งสมเอาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาความรู้ และนำไปใช้ประโยชน์
กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าใช้ทำยาได้ทั้งดิบ และสุก มีประโยชน์มากมายมหาศาล อย่างเช่น กล้วยดิบมีสารฝาดสมาน (Astringent) จึงช่วยในการสมานรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ เป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันผนังกระเพาะลำไส้ไม่ให้เชื้อโรคและอาหารที่มีรสเผ็ด จัด เช่น พริก เข้าไปทำลายผนังกระเพาะ ลำไส้ โดยกินครั้งละครึ่งผลหรือ 1 ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง และยังช่วยรักษาโรคกระเพาะได้อีกด้วย
กระชาย ตามตำราถือว่ากระชายเป็นยาอายุวัฒนะชั้นหนึ่ง เป็นยาเจริญอาหารและบำรุงธาตุทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้น ผิวพรรณผุดผ่อง สดใส ชะลอความแก่ แก้ใจสั่น แก้วิงเวียน แน่นหน้าอก แก้แผลในปาก แก้ฝีอักเสบ แก้กลากเกลื้อน
กระเทียม กระเทียมเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณ คือ ช่วยลดปริมาณของคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด แก้อาการท้องอืด และแน่นจุกเสียด โดยให้รับประทานกระเทียมดิบๆ ครั้งละประมาณ 5-7 กลีบหลังอาหาร
ขมิ้นชัน ขมิ้นชันนอกจากจะเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องเทศกันมานานแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาได้ อีกด้วย เช่น เป็นยาลดกรด แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลม อาหารไม่ย่อย แก้โรคกระเพาะ แก้ปวดท้อง แก้อาการเกร็งกล้ามเนื้อ ทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลง
ขิง ขิงเป็นสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ประโยชน์ของขิงคือช่วยย่อยอาหาร ลดความดัน ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล โดยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ ช่วยลดอาการอยากเสพยาของคนติดยาเสพติดได้ บรรเทาปวด ลดไข้ ลดอาการเวียนศีระษะ

excel

การคำนวณสูตรด้วยโปรแกรม Microsoft Excel
โปรแกรม Microsoft Excel มีความสะดวกในการคำนวณทาง คณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร จัดว่าเป็นพื้นฐานของการคำนวณอย่างยิ่ง การคำนวณผลลัพธ์ที่ มีจำนวนหลายเซลล์นั้น โปรแกรม Microsoft Excel สามารถคำนวณได้ด้วยสูตร ซึ่งมีความถูกต้องและชัดเจน
1. การคำนวณตามหลักพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 1.1 การใช้เครื่องหมายคณิตศาสตร์ในโปรแกรม Microsoft Excel
 +  แทน  การคำนวณหาผลบวก
 -   แทน  การคำนวณหาผลลบ
 *  แทน  การคำนวณหาผลคูณ
 /  แทน  การคำนวณหาผลหาร
 =   แทน  การคำนวณหาผลลัพธ์


 1.2 กฎเกณฑ์การคำนวณ
           - ทุกครั้งที่ต้องการคำนวณจะต้องพิมพ์เครื่องเท่ากับ (=) ก่อนทุกครั้ง
           - เมื่อกำหนดสูตรการคำนวณเรียบร้อยแล้วให้กดแป้น Enter

          ตัวอย่าง เช่น คำนวณหาผลลัพธ์ที่เซลล์ A4 หา ผลบวก A2+B3=A2+B3          
                 หมายถึง  พิมพ์ เท่ากับที่เซลล์ A4 แล้วให้คลิกที่เซลล์ A2 พิมพ์ เครื่องหมายบวก แล้วคลิกที่เซลล์ B3 กดแป้น Enterกรณีคำนวณจำนวนมากกว่า 2 เซลล์ สามารถทำได้เช่นกัน
                 เช่น =A2+B3+C4+D5 หมายถึง การคำนวณหาผลบวกเซลล์ A2 , B3 , C4 , D5